Web Analytics Made Easy - Statcounter

วัคซีนที่จำเป็น “ต้องฉีด” และ “ห้ามฉีด” ขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ?

แม้ว่าคุณแม่จะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วก็ตาม แต่ในขณะตั้งครรภ์คุณแม่ก็ต้องได้รับวัคซีนที่จำเป็นให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง และลดอันตรายจากการติดเชื้อไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ ช่วยให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกปลอดภัยจนถึงกำหนดคลอดได้

นอกจากการฉีดวัคซีนที่จำเป็นขณะตั้งครรภ์จะช่วยให้คุณแม่แข็งแรงแล้ว ยังสามารถส่งต่อภูมิคุ้มกันไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ จนถึงหลังคลอดแล้ว วัคซีนก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อในระยะ 6 เดือนแรกด้วย

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง ?
1. วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
สำหรับคุณแม่ที่ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักกระตุ้นทุกๆ 10 ปี คุณหมอจะฉีดวัคซีนให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหมด 2 เข็ม เพื่อให้ภูมิคุ้มกันส่งไปถึงลูกในครรภ์ โดยเข็มแรกฉีดในเดือนที่ 1 ส่วนเข็ม 2 ฉีดในเดือนที่ 6 (แต่ในกรณีที่ต้องฉีดครบ 3 เข็ม เพื่อให้ภูมิคุ้มกันในส่วนของคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณหมอจะฉีดเข็ม 3 ให้อีกครั้งหลังคลอดไปแล้ว)

2. วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน
ควรฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรนเมื่ออายุครรภ์ถึง 27-36 สัปดาห์ เนื่องจากในไตรมาส 3 ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อจะลดน้อยลง ทำให้คุณแม่ป่วยและติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นเพื่อช่วยป้องกันคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เป็นโรคคอตีบ ไอกรน แนะนำให้ฉีด 1 เข็ม ในทุกๆ ครั้งที่ตั้งครรภ์ (วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ฉีดพร้อมกันใน 1 เข็ม)

3. วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในไตรมาสที่ 3 หลัง 28 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนขั้นรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ได้ เช่น ภาวะปอดบวม ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือภาวะหัวใจวาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไข้หวัดใหญ่

4. วัคซีนป้องกันโควิด
ถ้าเป็นยุคก่อนโควิด คุณแม่คงไม่ต้องฉีดวัคซีนนี้ แต่ในยุคที่โควิดกำลังแพร่ระบาด และมีเชื้อไวรัสอยู่รอบตัวเรา ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์บังเอิญติดโควิดขึ้นมา จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปคือมีโอกาสเข้า ICU สูงกว่า 2-3 เท่า แต่สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน คุณหมอจะแนะนำให้ฉีดเข็มแรกได้เมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป

อัปเดต 15 วัคซีนที่ห้ามฉีดขณะท้อง !

1. วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Vaccinia vaccine/smallpox vaccine)
2. วัคซีนป้องกันวัณโรค (Bacille Calmette Guerin, BCG vaccine; Live attenuated strain
Mycobacterium bovis)
3. วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles-Mumps-Rubella, MMR vaccine)
4. วัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles live-virus vaccine)
5. วัคซีนป้องกันโรคคางทูม (Mumps live-virus vaccine)
6. วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน (Rubella live-virus vaccine)
7. วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella zoster live-virus vaccine, VAC)
8. วัคซีนป้องกันโรคทัยฟอยด์ ชนิดให้ทางปาก (Oral typhoid vaccine)
9. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก (Live attenuated influenza vaccine, LAIV)
10. วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดรับประทาน (Oral Polio Vaccine, OPV)
11. วัคซีนโรตาไวรัส (Rotavirus vaccine)
12.วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง (Yellow fever vaccine)
13. วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Zoster vaccine)
14.วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ชนิดรับประทาน (Oral cholera vaccine)
15. วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (7-valent pneumococcal conjugate vaccine, 7vPCV)

เพราะวัคซีนเหล่านี้มีชนิด ‘เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์’ เนื่องจากส่วนประกอบของวัคซีนเป็นชนิด ‘เชื้อมีชีวิต’ ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ และเกิดความพิการที่อวัยวะต่างๆ เช่น หู ตา หัวใจ แขน ขา และสมองได้ จึงจัดเป็นวัคซีนที่มีข้อห้ามใช้ในช่วงการตั้งครรภ์

ติดตามอ่านบทความดีๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ที่เว็บไซต์ Brusta หรือคลิก https://brustamiracle.com ได้เลย !