Web Analytics Made Easy - Statcounter

ภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง เสี่ยงกับคุณแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อยในครรภ์อย่างไร ?

ภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง คือภาวะที่การตั้งครรภ์มีปัจจัยเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ พบได้บ่อยในคุณแม่ที่อายุน้อยกว่า 17 ปี หรือ อายุมากกว่า 35 ปี ทำให้มีความเสี่ยงในภาวะ เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด, ลูกตัวเล็ก, ความดันเลือดสูงระหว่างการตั้งครรภ์, ครรภ์เป็นพิษ หรือ โรคซึมเศร้าหลังตั้งครรภ์

ยิ่งคุณแม่อายุมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่านั้น เช่น การแท้ง, โรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์, ครรภ์เป็นพิษ, ความผิดปกติทางพันธุกรรมของทางรก เช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิด ‘ภาวะตั้งครรภ์เสี่ยง’ อายุของคุณแม่
● ตั้งครรภ์ในตอนที่อายุน้อยกว่า 17 ปี
● ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี

ประวัติสุขภาพของคุณแม่
● มีหมู่เลือด Rh เป็นลบ
● แม่สูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตร
● มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน
● โรคความดันโลหิตสูง โดยความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
● โรคเบาหวาน
● โรคหอบหืด
● โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
● โรคโลหิตจาง
● โรค SLE แพ้ภูมิตัวเอง
● โรคตับ
● โรคไต
● โรคหัวใจ
● โรคติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ โรคเริม โรคซิฟิลิส เป็นต้น
● มีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดที่ตัวมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์

คุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ
● เคยมีลูกน้อยพิการหรือเสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตเมื่อแรกเกิด
● เคยแท้งเอง มากกว่า 3 ครั้งติดต่อกัน
● มีภาวะครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อนหน้า
● มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
● มีประวัติทารกพิการทางด้านสมอง
● มีประวัติทารกโตช้าในครรภ์
● มีประวัติตั้งครรภ์แฝด ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกเสื่อม ภาวะน้ำคร่ำน้อย
● มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
● ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือ มากกว่า 4,000 กรัม
● การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์แฝด
● ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง (ตั้งแต่ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป)

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณแม่
● สูบบุหรี่
● ดื่มเหล้า
● ติดยาเสพติด หรือใช้สารเสพติดอื่นๆ

ป้องกันภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงได้อย่างไร ?
เพื่อให้ปลอดภัยต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ก่อนตั้งครรภ์ควรเตรียมความพร้อมด้วยการตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณพ่อ เพื่อควบคุมโรคและปัจจัยเสี่ยง ก่อนที่จะเริ่มวางแผนตั้งครรภ์ในขั้นตอนต่อไป ดังนี้

• ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ และแจ้งประวัติสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการดูแลรักษา และมาพบแพทย์เป็นระยะตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

• คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

• เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ อย่าลืมวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่มาพบแพทย์

• ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้มากหรือน้อยจนเกินไป

• งดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อภาวะครรภ์เสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด และเลี่ยงการเดินทางหรือทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดผลต่อครรภ์ได้

เมื่อสุขภาพกายพร้อมแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพใจให้พร้อมด้วยเช่นกัน โดยคุณแม่ควรวางเรื่องเครียดลง แล้วปล่อยใจให้สบาย โดยเฉพาะความเครียดสะสมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือความปลอดภัยของลูกน้อย เพราะเมื่อฝากครรภ์กับคุณหมอเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าวางใจเรื่องภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงได้อีกเปราะหนึ่ง ดังนั้นคุณแม่ต้องพักผ่อนเยอะๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งตัวเองและลูกน้อยในครรภ์

ติดตามอ่านบทความดีๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ที่เว็บไซต์ Brusta หรือคลิก https://www.brustamiracle.com ได้เลย !